ดนตรีพื้นบ้านของภาคใต้
ภาคใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทยที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและมีการสั่งสมวัฒนธรรมหลากหลาย จากสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยให้ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งที่มีกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์เข้ามาติดต่อสัมพันธ์และตั้งหลักแหล่งจนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและผสมผสานทางวัฒนธรรมมากมาย ในที่สุดก็เกิดเป็นวัฒนธรรมภาคใต้ที่มีลักษณะอย่างเด่นชัดอันรวมถึงวัฒนธรรมด้านดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ด้วย ดังที่ ธิดา โมสิกรัตน์ และคนอื่น ๆ ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมด้านเครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ไว้ สรุปได้ว่า ภาคใต้เป็นศูนย์กลางของการค้าของเอเชียอาคเนย์มาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นแหล่งติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ ระหว่างชาติต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน ชวา มาลายู เป็นต้น การเข้ามาของชนชาติต่าง ๆ ได้นำเอาวัฒนธรรมทางด้านเครื่องดนตรีและการละเล่นมาเผยแพร่อีด้วย แต่ชาวภาคใต้ก็นำมาปรับใช้โดยการประสมประสานกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิม เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ไม่ค่อยนิยมมีการเล่นเดี่ยว หรือเพื่อการประสมวงเพื่อการฟังโดยตรง มักจะควบคู่ไปกับการละเล่น และการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับที่ สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้กล่าวสรุปไว้ว่า เครื่องดนตรีของภาคใต้ส่วนมากจะเป็นเครื่องตี ใช้จังหวะประกอบคำขับร้องและท่าทางการเต้นรำมากกว่าจะใช้เล่นเป็นทำนองเพลงเพื่อสื่ออารมณ์เนื่องจากดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเครื่องให้จังหวะในการร้องรำ
เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องตีเป็นหลักที่ปรากฎในกลุ่มชนทั่วไป ได้แก่ ทับ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และกรับ ส่วนที่ปรากฏเฉพะกลุ่มชาวมุสลิม ได้แก่ กรือโต๊ะ บานอ ทน ( กลองแขก ) รำมะนา ที่ปรากฏในกลุ่มชาวพุทธ ได้แก่ โพน ปืด ฆ้อง แตระ ปี่นอก ปี่ชวา ปี่ฮ้อ ซออู้ ซอด้วง เป็นติ้น เครื่องดนตรีเหล่านี้อาจรับมาจากภาคกลางและของชาติอื่น โดยนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นภาคใต้ ในที่สุดก็มีกาสืบทอดต่อ ๆ กันมาจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทางภาคใต้
เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ส่วนใหญ่จะใช้เป็นส่วนหนึ่งของการละเล่นพื้นบ้าน โดยเครื่องดนตรีเหล่านี้เป็นตัวเสริมให้การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ใหมีสีสัน เป็นที่น่าสนใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นและในที่สุดก็จะทำให้การแสดงนั้นมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ส่วนใหญ่จะนิยมใช้บรรเลงตามขนบนิยมของการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้แต่ละชนิด ในกรณีนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการบรรเลงเดี่ยว เป็นการบรรเลงเพื่อประโคมให้เกิดความครึกครื้นในงานหรือเทศกาลต่าง ๆ เช่นเทศกาลชักพระ หรือประโคมเพื่อประชันกันอีกทั้งยังมีการบรรเลงแบประสมวงนั้นมักจะเป็นการบรรเลงประกอบการแสดงหรือประกอบการละเล่นหรือประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งการบรรเลงเครื่องดนตรีเหล่านี้จะใช้เครื่องตีเป็นหลักในการควบคุมจังหวะ เช่น กลอง ทับ ฉิ่ง โหม่ง เหตุที่ใช้เครื่องตีเป็นหลักเพราะต้องการให้เกิดความคึกครื้น เร้าใจ ดึกดูดผู้สนใจ ที่จะเข้ามาชมการแสดงที่จะมีขึ้น ดนตรีพ้นบ้านภาคใต้ยังมีคุณค่าต่อวิถีชีวิตของสังคมชาวภาคใต้เป็นอย่างมาก เพราะดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ใช้ในความบันเทิง การประกอบพิธีกรรม ใช้เป็นสื่อในการสื่อสารและเป็นสื่อนันทนาการของสังคมชาวใต้อีกด้วย
ขอบคุณค่ะเป็นประโยชน์สำหรับใบงานของหนูมาก
ตอบลบชื่อวงตรีอะไรครับ
ตอบลบ